ระบบคอมพิวเตอร์
ความหมายของคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์มาจากภาษาละตินว่า Computare ซึ่งหมายถึงการนับหรือการคำนวณพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายของคอมพิวเตอร์ไว้ว่า “เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติทำหน้าที่เหมือนสมองกลใช้สำหรับ แก้ปัญหาต่างๆ ที่ง่ายและซับซ้อนโดยวิธีทางคณิตศาสตร์”
คอมพิวเตอร์จึงเป็นเครื่องจักรอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้ทำงานแทนมนุษย์ในด้านการคิดคำนวณและสามารถจำข้อมูลทั้งตัวเลข และตัวอักษรได้เพื่อการเรียกใช้งานในครั้งต่อไปนอกจากนี้ยังสามารถจัดการกับสัญลักษณ์ได้ด้วยความเร็วสูง โดยปฏิบัติตามขั้นตอนของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ยังมีความสามารถในด้านต่างๆอีกมากอาทิ เช่น การเปรียบเทียบทางตรรกศาสตร์ การรับส่งข้อมูล การจัดเก็บข้อมูลในตัวเครื่องและสามารถประมวลผลจากข้อมูลต่างๆ ได้
ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้เป็นผลมาจากการประดิษฐ์คิดค้นเครื่องมือในการคำนวณซึ่งมี วิวัฒนาการนานมาแล้ว เริ่มจากเครื่องมือในการคำนวณเครื่องแรกคือ “ลูกคิด” (Abacus) ที่สร้างขึ้นใน ประเทศจีน เมื่อประมาณ 2,000-3,000 ปีมาแล้ว จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2376 นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษชื่อ ชาร์ล แบบเบจ (Charles Babbage) ได้ประดิษฐ์เครื่องวิเคราะห์ (Analytical Engine) สามารถคำนวณค่าของตรีโกณมิติ ฟังก์ชั่นต่างๆ ทางคณิตศาสตร์ หลักการของแบบเบจนี้เองที่ได้นำมาพัฒนาสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์สมัยใหม่เราจึงยกย่องให้แบบเบจเป็นบิดาแห่งเครื่องคอมพิวเตอร์หลังจากนั้นเป็นต้นมาได้มีผู้ประดิษฐ์เครื่องคอมพิวเตอร์ขึ้นมามากมายหลายขนาดทำให้เป็นการเริ่มยุคของคอมพิวเตอร์อย่างแท้จริง
โดยสามารถจัดแบ่งคอมพิวเตอร์ออกได้เป็น 5 ยุค
ยุคที่1(พ.ศ.2489 – 2501) เป็นการประดิษฐ์เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มิใช่เครื่องคำนวณ โดยเมาช์ลีและเอ็กเคอร์ต (Mauchly and Eckert) ได้นำแนวความคิดนั้นมาประดิษฐ์เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพมากเครื่องหนึ่งเรียกว่า ENIAC (Electronic Numerical Integrator and Calculator)ซึ่งต่อมาได้ทำการปรับปรุงการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น และได้ประดิษฐ์เครื่อง UNIVAC (Universal Automatic Computer) ขึ้นเพื่อใช้ในการสำรวจสำมะโนประชากรประจำปี จึงนับได้ว่า UNIVAC เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลกที่ถูกใช้งานในเชิงธุรกิจ ซึ่งนับเป็นการเริ่มของเครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคแรกอย่างแท้จริง
เครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคนี้ใช้ หลอดสุญญากาศ ในการควบคุมการทำงานของเครื่อง ซึ่งทำงานได้อย่างรวดเร็ว แต่มีขนาดใหญ่มากและราคาแพงยุคแรกของคอมพิวเตอร์สิ้นสุดเมื่อมีผู้ประดิษฐ์ ทรานซิสเตอร์มาใช้แทนหลอด สุญญากาศ
ลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคที่ 1
– ใช้อุปกรณ์ หลอดสุญญากาศ (Vacuum Tube) เป็นส่วนประกอบหลัก ทำให้ตัวเครื่องมีขนาดใหญ่ ใช้พลังงานไฟฟ้ามาก และเกิดความร้อนสูง
– ทำงานด้วยภาษาเครื่อง (Machine Language) เท่านั้น
– เริ่มมีการพัฒนาภาษาสัญลักษณ์ (Assembly / Symbolic Language) ขึ้นใช้งาน
– เริ่มมีการพัฒนาภาษาสัญลักษณ์ (Assembly / Symbolic Language) ขึ้นใช้งาน
ยุคที่ 2 (พ.ศ.2502 – 2506) การนำทรานซิสเตอร์มาใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ จึงทำให้เครื่องมีขนาดเล็กลงและสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้มีความรวดเร็วและแม่นยำมากยิ่งขึ้นนอกจากนี้ในยุคนี้ยังได้มีการคิดภาษาเพื่อใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์เช่นภาษาฟอร์แทน (FORTRAN) จึงทำให้ง่ายต่อการเขียนโปรแกรมสำหรับใช้กับเครื่อง
ลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคที่ 2
– ใช้อุปกรณ์ ทรานซิสเตอร์ (Transistor) ซึ่งสร้างจากสารกึ่งตัวนำ (Semi-Conductor) เป็นอุปกรณ์หลัก แทนหลอดสุญญากาศ เนื่องจากทรานซิสเตอร์เพียงตัวเดียว มีประสิทธิภาพในการทำงานเทียบเท่าหลอดสุญญากาศได้นับร้อยหลอด ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคนี้มีขนาดเล็ก ใช้พลังงานไฟฟ้าน้อย ความร้อนต่ำ ทำงานเร็ว และได้รับความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น
– เก็บข้อมูลได้ โดยใช้ส่วนความจำวงแหวนแม่เหล็ก (Magnetic Core)
– มีความเร็วในการประมวลผลในหนึ่งคำสั่ง ประมาณหนึ่งในพันของวินาที (Millisecond : mS)
– สั่งงานได้สะดวกมากขึ้น เนื่องจากทำงานด้วยภาษาสัญลักษณ์ (Assembly Language)
– เริ่มพัฒนาภาษาระดับสูง (High Level Language) ขึ้นใช้งานในยุคนี้
– มีความเร็วในการประมวลผลในหนึ่งคำสั่ง ประมาณหนึ่งในพันของวินาที (Millisecond : mS)
– สั่งงานได้สะดวกมากขึ้น เนื่องจากทำงานด้วยภาษาสัญลักษณ์ (Assembly Language)
– เริ่มพัฒนาภาษาระดับสูง (High Level Language) ขึ้นใช้งานในยุคนี้
ยุคที่ 3 ( พ.ศ.2507 – 2512 ) คอมพิวเตอร์ในยุคนี้เริ่มต้นภายหลังจากการใช้ทรานซิสเตอร์ได้เพียง 5 ปีเนื่องจากได้มีการประดิษฐ์คิดค้นเกี่ยวกับวงจรรวม (Integrated-Circuit) หรือเรียกกันย่อๆ ว่า “ไอซี” (IC) ซึ่งไอซีนี้ทำให้ส่วนประกอบและวงจรต่างๆ สามารถวางลงได้บนแผ่นชิป (chip) เล็กๆเพียงแผ่นเดียวจึงมีการนำเอาแผ่นชิปมาใช้แทนทรานซิสเตอร์ทำให้ประหยัดเนื้อที่ได้มาก นอกจากนี้ยังเริ่มมีการใช้งานระบบจัดการฐานข้อมูล (Data Base Management Systems : DBMS) และมีการพัฒนาเครื่องคอมพิวเตอร์ให้สามารถทำงานร่วมกันได้หลายๆ งานในเวลาเดียวกันและมีระบบที่ผู้ใช้สามารถโต้ตอบกับเครื่องได้หลายๆ คน พร้อมๆ กัน (Time Sharing)
ลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคที่ 3
– ใช้อุปกรณ์ วงจรรวม (Integrated Circuit : IC) หรือ ไอซีและวงจรรวมสเกลขนาดใหญ่ (Large Scale Integration : LSI) เป็นอุปกรณ์หลัก
– ความเร็วในการประมวลผลในหนึ่งคำสั่ง ประมาณหนึ่งในล้านของวินาที (Microsecond : mS) (สูงกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคที่ 1 ประมาณ 1,000 เท่า)
– ทำงานได้ด้วยภาษาระดับสูงทั่วไป
ยุคที่ 4 (พ.ศ.2513 – 2532) เป็นยุคที่นำสารกึ่งตัวนำมาสร้างเป็นวงจรรวมความจุสูงมาก (Very Large Scale Integrated : VLSI) ซึ่งสามารถย่อส่วนไอซีธรรมดาหลายๆวงจรเข้ามาในวงจรเดียวกันและมีการประดิษฐ์ ไมโครโพรเซสเซอร์ (Microprocessor) ขึ้น ทำให้เครื่องมีขนาดเล็ก ราคาถูกลงและมีความสามารถในการทำงานสูงและรวดเร็วมากจึงทำให้มีคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer) ถือกำเนิดขึ้นมาในยุคนี้
ลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคที่ 4
– ใช้อุปกรณ์ วงจรรวมสเกลขนาดใหญ่ (Large Scale Integration : LSI) และ วงจรรวมสเกลขนาดใหญ่มาก (Very Large Scale Integration : VLSI) เป็นอุปกรณ์หลัก
– มีความเร็วในการประมวลผลแต่ละคำสั่ง ประมาณหนึ่งในพันล้านวินาที (Nanosecond : nS) และพัฒนาต่อมาจนมีความเร็วในการประมวลผลแต่ละคำสั่ง ประมาณหนึ่งในล้านล้านของวินาที (Picosecond : pS)
ยุคที่ 5 (พ.ศ.2533-ปัจจุบัน) ในยุคนี้ ได้มุ่งเน้นการพัฒนาความสามารถในการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์และความสะดวกสบายในการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์อย่างชัดเจน มีการพัฒนาสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพาขนาดเล็ก (Portable Computer) ขึ้นใช้งานในยุคนี้ โครงการพัฒนาอุปกรณ์VLSI ให้ใช้งานง่ายและมีความสามารถสูงขึ้นรวมทั้งโครงการวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) เป็นหัวใจของการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ในยุคนี้ โดยหวังให้ระบบคอมพิวเตอร์มีความรู้สามารถวิเคราะห์ปัญหาด้วยเหตุผล
ประเภทของคอมพิวเตอร์
จากประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์จะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วมากทำให้ปัจจุบันมีเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เลือกใช้มากมายหลายรูปแบบตามความต้องการของผู้ใช้จำแนกออกได้เป็น 4 ชนิด โดยพิจารณาจาก ความสามารถในการเก็บข้อมูลและ ความเร็วในการประมวลผล เป็นหลัก ดังนี้
ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ (SuperComputer)
หมายถึง เครื่องประมวลผลข้อมูลที่มีความสามารถในการประมวลผลสูงที่สุด โดยทั่วไปสร้างขึ้นเป็นการเฉพาะเพื่องานด้านวิทยาศาสตร์ที่ต้องการ การประมวลผลซับซ้อนและต้องการความเร็วสูง เช่นงานวิจัยขีปนาวุธงานโครงการอวกาศสหรัฐ (NASA) งานสื่อสารดาวเทียม หรือ งานพยากรณ์อากาศ เป็นต้น
เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe Computer)
หมายถึง เครื่องประมวลผลข้อมูลที่มีส่วนความจำและความเร็วน้อยลงสามารถใช้ข้อมูลและคำสั่งของเครื่องรุ่นอื่นในตระกูล (Family) เดียวกันได้ โดยไม่ต้องดัดแปลงแก้ไขใดๆ นอกจากนั้นยังสามารถทำงานในระบบเครือข่าย (Network) ได้เป็นอย่างดี โดยสามารถเชื่อมต่อไปยังอุปกรณ์ที่เรียกว่า เครื่องปลายทาง (Terminal)จำนวนมากได้สามารถทำงานได้พร้อมกันหลายงาน (Multitasking) และใช้งานได้พร้อมกันหลายคน (MultiUser)ปกติเครื่องชนิดนี้นิยมใช้ใน ธุรกิจขนาดใหญ่มีราคาตั้งแต่สิบล้านบาทไปจนถึงหลายร้อยล้านบาทตัวอย่างของเครื่องเมนเฟรมที่ใช้กันแพร่หลายก็คือคอมพิวเตอร์ของธนาคารที่เชื่อมต่อไปยังตู้ATMและสาขาของธนาคารทั่วประเทศนั่นเอง
มินิคอมพิวเตอร์ (MiniComputer)
หมายถึง ธุรกิจและหน่วยงานที่มีขนาดเล็กไม่จำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์ขนาดเมนเฟรมซึ่งมีราคาแพงผู้ผลิตคอมพิวเตอร์จึงพัฒนาคอมพิวเตอร์ให้มีขนาดเล็กและมีราคาถูกลง เรียกว่า มินิคอมพิวเตอร์โดยมีลักษณะพิเศษในการทำงานร่วมกับอุปกรณ์ประกอบรอบข้างที่มีความเร็วสูงได้ มีการใช้แผ่นจานแม่เหล็กความจุสูงชนิดแข็ง (Harddisk) ในการเก็บรักษาข้อมูล สามารถอ่าน เขียนข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว หน่วยงานและบริษัทที่ใช้คอมพิวเตอร์ขนาดนี้ ได้แก่ กรม กอง มหาวิทยาลัย ห้างสรรพสินค้า โรงแรม โรงพยาบาล และโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ
ไมโครคอมพิวเตอร์ (MicroComputer)
หมายถึง เครื่องประมวลผลข้อมูลขนาดเล็กมีส่วนของหน่วยความจำและความเร็วในการประมวลผลน้อยที่สุด สามารถใช้งานได้ด้วยคนเดียว จึงมักถูกเรียกว่า คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ( Personal Computer : PC) ปัจจุบันไมโครคอมพิวเตอร์มีประสิทธิภาพสูงกว่าในสมัยก่อนมากอาจเท่ากับหรือมากกว่าเครื่องเมนเฟรมในยุคก่อนนอกจากนั้นยังราคาถูกลงมาก ดังนั้นจึงเป็นที่นิยมใช้มากทั้งตามหน่วยงานและบริษัทห้างร้านตลอดจนตามโรงเรียน สถานศึกษาและบ้านเรือนบริษัทที่ ผลิตไมโครคอมพิวเตอร์ออกจำหน่ายจนประสบความสำเร็จเป็นบริษัทแรก คือ บริษัทแอปเปิลคอมพิวเตอร์
เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์
เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์
จำแนกออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1. แบบติดตั้งใช้งานอยู่กับที่บนโต๊ะทำงาน (Desktop Computer)
2. แบบเคลื่อนย้ายได้ ( Portable Computer ) สามารถพกพาติดตัวอาศัยพลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่จากภายนอก ส่วนใหญ่มักเรียกตามลักษณะของการใช้งานว่า Laptop Computer หรือ Notebook Computer
องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
ในความเป็นจริงแล้วตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เราเห็นๆกันอยู่นี้เป็นเพียงองค์ประกอบส่วนหนึ่งของระบบคอมพิวเตอร์เท่านั้น แต่ถ้าต้องการให้เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพตามที่เราต้องการนั้นจำเป็นต้องอาศัยองค์ประกอบพื้นฐาน 4 ประการ มาทำงานประสานร่วมกัน ซึ่งองค์ประกอบพื้นฐานของระบบคอมพิวเตอร์ประกอบไปด้วย
- ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
- ซอฟต์แวร์ (Software)
- บุคลากร
- ข้อมูล
ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
หมายถึง อุปกรณ์ต่างๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นโครงร่างสามารถมองเห็นด้วยตาและสัมผัสได้ (รูปธรรม) เช่น จอภาพ คีย์บอร์ด เครื่องพิมพ์ เมาส์ เป็นต้น ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นส่วนต่างๆ ตามลักษณะการทำงานได้ 4 หน่วย คือ
- หน่วยรับคำสั่งหรือข้อมูล (Input Unit:IU)
คือเป็นส่วนที่ทำหน้าที่นำข้อมูลจากภายนอกเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นตัวกลางเชื่อมโยงจากมนุษย์สู่เครื่องคอมพิวเตอร์ (เสมือนเป็นประสาทสัมผัสของคอมพิวเตอร์ ในการรับคำสั่งหรือข้อมูลเข้าคอมพิวเตอร์เพื่อประมวลผลต่อไป)
ตัวอย่างอุปกรณ์ เช่น เมาส์ , คีย์บอร์ด , ไมค์ , สแกนเนอร์,เครื่องอ่านรหัสบาร์โค้ด เป็นต้น
– แป้นพิมพ์ (Keyboard)
แป้นพิมพ์ หรือ คีย์บอร์ด เป็นอุปกรณ์สำหรับนำเข้าข้อมูลขั้นพื้นฐาน ทำหน้าที่เชื่อม ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับระบบคอมพิวเตอร์“แป้นพิมพ์เกษมณี ซึ่งเป็นแป้นพิมพ์ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน”
– เมาส์ (Mouse)
คือ อุปกรณ์นำเข้าข้อมูลที่นิยมใช้กันโดยทั่วไปอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งใช้งานง่ายและสะดวกกว่าแป้นพิมพ์มาก เนื่องจากไม่จ้องจดจำคำสั่งสำหรับป้อนเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ภายในจะมีลูกกลิ้งกลมสำหรับหมุนใช้กำหนดตำแหน่ง เพื่อเลือกคำสั่งหรือวาดลายเส้นบนจอภาพ ตำแหน่งจุดตัด X และ Y จากเครื่องมือนี้จะสัมพันธ์กับจุดตัด X และ Y บนจอภาพ ทำให้สามารถกำหนดคำสั่งหรือตำแหน่งลายเส้นตามเงื่อนไขในโปรแกรมได้สะดวก
– สแกนเนอร์ (Scanner)
คือ อุปกรณ์นำเข้าข้อมูลประเภทที่ไม่สะดวกในการป้อนเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ทางคีย์บอร์ดได้ เช่น ภาพโลโก้ วิวทิวทัศน์ ภาพถ่ายรูปคน สัตว์ ฯลฯ เราสามารถใช้สแกนเนอร์สแกนภาพเพื่อแปลงเป็นข้อมูลเข้าไปสู่เครื่องได้โดยตรง หน่วยประมวลผลจะนำข้อมูลที่ได้รับมานั้นแสดงเป็นภาพให้ปรากฏอยู่บนจอภาพ เพื่อนำมาแก้ไขสี รูปร่าง ตัดแต่ง และนำภาพไปประกอบงานพิมพ์ได้
- หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit:CPU)
หน่วยประมวลผลกลางเป็นศูนย์กลางการประมวลผลของทั้งระบบ เปรียบเสมือนกองบัญชาการ หรือ ส่วนของศีรษะของมนุษย์ ที่มีผู้บัญชาการ หรือสมองอยู่ภายใน ภายในหน่วยประมวลผลกลางนี้ จะเป็นการทำงานประสานกันระหว่าง 2 ส่วนหลัก คือ ส่วนประมวลผล (Processor) และ ส่วนความจำหลัก (Main Memory หรือ Primary Storage) หน่วยประมวลผลกลางประกอบด้วย 2 หน่วย คือ
2.1 หน่วยควบคุม (Control Unit:CU)
ส่วนที่ทำหน้าที่สร้างและส่งสัญญาณไปควบคุมการทำงานของส่วนประกอบต่างๆ ในระบบคอมพิวเตอร์ ให้ทำงานประสานสัมพันธ์กัน สามารถจัดสรรทรัพยากรให้ทำงานร่วมกันได้
2.2 หน่วยคำนวณและตรรกะ (Arithmetics & Logical Unit)
ทำหน้าที่คำนวณและเปรียบเทียบข้อมูล โดยอาศัยหลักการทางคณิตศาสตร์ (Arithmetic) และตรรกศาสตร์ (Logic) ตามลำดับ
- หน่วยความจำ (Memory Unit)
ทำหน้าที่เก็บชุดคำสั่งหรือข้อมูล ในระหว่างการประมวลผล หรือที่ได้จากการประมวลผล
แบ่งได้หลักๆ ดังนี้
3.1 หน่วยความจำหลัก (Main Memory)
ส่วนความจำหลักเป็นส่วนความจำพื้นฐานในคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง เป็นหัวใจของการทำงานในรูปแบบอัตโนมัติ มีหน้าที่เก็บข้อมูลต่างๆ ที่ป้อนเข้ามาเพื่อให้ส่วนประมวลผลนำไปใช้ และเก็บข้อมูลที่เกี่ยวกับคุณสมบัติและระบบการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วย
3.1.1 Random Access Memory :RAM
หรือเรียกอีกอย่างว่า หน่วยความจำชั่วคราว อันเนื่องมาจาก ลักษณะการทำงานของ RAM คือจะไม่จำข้อมูลเมื่อไม่มีไฟฟ้าเลี้ยง เป็นหน่วยความจำที่ใช้ในขณะที่เปิดใช้งานคอมพิวเตอร์อยู่นั่นเอง เช่น การพิมพ์งานเวิร์ด ถ้ายังไม่ได้บันทึก แล้วไฟฟ้าดับ เมื่อเปิดเครื่องมาใหม่ ข้อมูลที่พิมพ์อยู่นั้นจะหายหมดเลย
3.1.2 Read Only Memory : ROM
เป็นหน่วยความจำถาวร คือ ถึงแม้ไม่มีไฟฟ้าเลี้ยงก็ยังจำข้อมูลอยู่
โดยชุดคำสั่งหรือข้อมูลที่เก็บอยู่ใน ROM จะถูกบันทึกมาจากโรงงานผู้ผลิต
3.2 หน่วยความจำรอง (Secondary Storage)
เป็นหน่วยความจำที่ใช้ในการเก็บชุดคำสั่งหรือข้อมูลไว้ เมื่อต้องการใช้งานหรือประมวลผลก็สามารถอ่านมาได้ มีราคาถูกกว่าหน่วยความจำหลัก เมื่อเทียบจากราคาต่อความจุ เช่น ฮาร์ดดิสก์ , แผ่นดิสก์ . CD ,DVD ,Flash Drive , Hard Drive เป็นต้น หน่วยความจำรองนี้ แม้คอมพิวเตอร์ขาดไปแต่คอมพิวเตอร์ก็สามารถเปิดใช้งานได้ แต่ประสิทธิภาพจะด้อยลง เท่านั้นเอง
- หน่วยแสดงผล (Output Unit:OU)
ทำหน้าที่ในการแสดงผล สิ่งที่คอมพิวเตอร์ต้องการสื่อสารกับคน หรือเพื่อให้คนเข้าใจได้ โดยแบ่งได้ดังนี้
4.1 Hard Copy เป็นอุปกรณ์แสดงผลที่ถาวร ผลที่ได้นั้นสามารถจับต้องได้ เช่น เครื่องพิมพ์ โดยพิมพ์ออกทางกระดาษสามารถจับต้องได้นั่นเอง
เครื่องพิมพ์สามารถแบ่งได้หลายประเภท เช่น
เครื่องพิมพ์แบบจุด (Dot Matrix Printer) พวกนี้จะให้หัวเข็มในการพิมพ์ลงบนผ้าหมึกแล้วกระทบลงกระดาษ ทำให้หมึกติดกระดาษ ตามหัวที่มากระทบ พิมพ์ได้ช้า และความละเอียดงานพิมพ์จะน้อย แต่ผ้าหมึกราคาถูกสามารถพิมพ์สำเนาได้ครั้งเดียวหลายๆ ชุด นิยมใช้ในงานพิมพ์บิลในงานธุรกิจ ที่ต้องการพิมพ์สำเนาด้วย
เครื่องพิมพ์แบบหมึกพ่น (Ink Jet Printer) เป็นเครื่องพิมพ์ที่ใช้การพ่นหมึก ซึ่งหมึกที่ใช้จะเป็นแม่สี 3 สี คือ แดง เหลือง และน้ำเงินบางเครื่องจะใช้ 2 กล่อง คือ น้ำหมึกสีดำกับตัวแม่สี ตัวเครื่องพิมพ์มีราคาถูก แต่หมึกพิมพ์มีราคาแพง ความละเอียดมีทั้งสูงและปานกลาง ถ้าเครื่องที่มีความละเอียดสูง จะมีราคาแพงไปด้วย
เครื่องพิมพ์แบบ Laser (Laser Printer) มีหลักการทำงานเหมือนกับเครื่องถ่ายเอกสาร เป็นเครื่องพิมพ์ที่ใช้ความร้อนในการทำให้ผงหมึกเลเซอร์ ติดกับกระดาษ ความละเอียดงานพิมพ์สูง ถ้าเป็นเครื่องเลเซอร์ที่สามารถพิมพ์สีได้จะมีความละเอียดสูงและราคาก็จะสูงมากเช่นกัน แต่งานพิมพ์จะมีประสิทธิภาพดี
4.2 Soft Copy เป็นอุปกรณ์แสดงผลที่เมื่อแสดงผลมาแล้ว ไม่ถาวร ไม่สามารถจับต้องได้ เช่น จอภาพ,โปรเจคเตอร์ เป็นต้น
– จอภาพ (Monitor)
จอภาพเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการแสดงข้อมูล ในลักษณะของข้อความและรูปภาพ โดยเป็นการแสดงผลให้ผู้ใช้ทราบในขณะนั้น แต่เมื่อเลิกทำงานหรือเลิกใช้แล้วผลนั้นก็จะหายไป ไม่เหลือเป็นวัตถุให้เก็บได้ แต่ถ้าต้องการเก็บผลลัพธ์นั้น ก็สามารถส่งถ่ายไปเก็บข้อมูลไว้ในหน่วยความจำรอง (Secondary Storage) ได้
ซอฟต์แวร์ (Software)
ส่วนที่มนุษย์สัมผัสไม่ได้โดยตรง (นามธรรม) เป็นโปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่ถูกเขียนขึ้นเพื่อสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงาน ซอฟต์แวร์จึงเป็นเหมือนตัวเชื่อมระหว่างผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และเครื่องคอมพิวเตอร์ถ้าไม่มีซอฟต์แวร์เราก็ไม่สามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำอะไรได้เลย
ในบรรดาซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีผู้พัฒนาขึ้นเพื่อใช้งานกับคอมพิวเตอร์มีมากมาย ซอฟต์แวร์เหล่านี้อาจได้รับการพัฒนาโดยผู้ใช้งานเอง หรือผู้พัฒนาระบบ หรือผู้ผลิตจำหน่าย หากแบ่งแยกชนิดของซอฟต์แวร์ตามสภาพการทำงาน พอแบ่งแยกซอฟต์แวร์ได้เป็นสองประเภท คือ ซอฟต์แวร์ระบบ (system software) และซอฟต์แวร์ประยุกต์ (application software)
- ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software)
ซอฟต์แวร์ที่บริษัทผู้ผลิตสร้างขึ้นมาเพื่อใช้จัดการกับระบบ หน้าที่การทำงานของซอฟต์แวร์ระบบคือดำเนินงานพื้นฐานต่าง ๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ เช่น รับข้อมูลจากแผงแป้นอักขระแล้วแปลความหมายให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ นำข้อมูลไปแสดงผลบนจอภาพหรือนำออกไปยังเครื่องพิมพ์ จัดการข้อมูลในระบบแฟ้มข้อมูลบนหน่วยความจำรอง แบ่งได้เป็น
1.1 ระบบปฏิบัติการ (Operating System:OS) ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ เป็นสื่อกลางระหว่างโปรแกรมประยุกต์กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อช่วยในการจัดการทรัพยากรของคอมพิวเตอร์ เป็นโปรแกรมที่คอมพิวเตอร์ขาดไม่ได้ นั่นหมายความว่า เมื่อเราประกอบเครื่องเสร็จแล้ว ก่อนเราจะเปิดเครื่องขึ้นมาใช้งานได้ เราต้องติดตั้งระบบปฏิบัติการเสียก่อน แล้วจึงติดตั้งโปรแกรมประยุกต์อื่นๆ ลงไปได้ ตัวอย่างของโปรแกรมระบบปฏิบัติการ
Windows ME,Windows 95,Windows 98,Windows 2000,Windows XP,Windows 7
Dos , Linux ,Unix ,Mac OS เป็นต้น
1.2 โปรแกรมแปลภาษา ใช้สำหรับเป็นตัวกลางระหว่างโปรแกรมประยุกต์ และระบบปฏิบัติการ ใช้แปลงภาษาของต้นฉบับโปรแกรม ไปเป็นภาษาเครื่อง
1.3 โปรแกรมอรรถประโยชน์ เป็นโปรแกรมที่เสริมโปรแกรมระบบปฏิบัติการให้มีความสามารถเพิ่มมากขึ้น เช่น โปรแกรมบีบอัดไฟล์ , โปรแกรมเขียนซีดี/ดีวีดี .โปรแกรมสแกนไวรัส เป็นต้น
- ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)
เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้กับงานด้านต่าง ๆ ตามความต้องการของผู้ใช้ ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้โดยตรง ปัจจุบันมีผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ใช้งานทางด้านต่าง ๆ ออกจำหน่ายมาก การประยุกต์งานคอมพิวเตอร์จึงกว้างขวางและแพร่หลาย เราอาจแบ่งซอฟต์แวร์ประยุกต์ออกเป็นสองกลุ่มคือ ซอฟต์แวร์สำเร็จ และซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นใช้งานเฉพาะ ซอฟต์แวร์สำเร็จในปัจจุบันมีมากมาย (การจะเลือกมาใช้ต้องดูว่า โปรแกรมนั้น สามารถใช้กับระบบปฏิบัติการใด เพราะระบบปฏิบัติการจะไม่เข้าใจภาษาที่ข้ามระบบกัน) สามารถแบ่งตามการประยุกต์ใช้งานได้ดังนี้
2.1 ซอฟต์แวร์ประยุกต์ ด้านตารางคำนวณ เช่น Microsoft Excel
2.2 ซอฟต์แวร์ประยุกต์ ด้านประมวลคำ เช่น Microsoft Word
2.3 ซอฟต์แวร์ประยุกต์ ด้านงานนำเสนอ เช่น Microsoft PowerPoint
2.4 ซอฟต์แวร์ประยุกต์ ด้านฐานข้อมูล เช่น Microsoft Access
2.5 ซอฟต์แวร์ประยุกต์ ด้านกราฟิก เช่น Adobe Photoshop
2.6 ซอฟต์แวร์ประยุกต์ ด้านมัลติมีเดีย เช่น Adobe Flash
เป็นต้น
บุคลากร
บุคลากร คือ บุคลากรทางคอมพิวเตอร์ ทั้งที่มีความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์ขั้นสูง ไปจนกระทั่งถึงผู้ที่ใช้อย่างเดียว ตัวอย่างบุคลากรทางคอมพิวเตอร์ มีดังนี้
- ผู้บริหารระดับสูง เป็นผู้มีอำนาจในการตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในองค์กร
- นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst) เป็นผู้วิเคราะห์และออกแบบระบบงานต่างๆ เพื่อจะนำมาออกแบบเป็นโปรแกรมต่อไป
- นักบริหารฐานข้อมูล (Database Administrator) เป็นผู้จัดสรร ออกแบบระบบฐานข้อมูล และดูแลระบบฐานข้อมูล ให้ฐานข้อมูลมีประสิทธิภาพ
- นักเขียนโปรแกรม (Programmer) เป็นผู้เขียนโปรแกรมตามระบบที่ได้ออกแบบไว้แล้วจากนักวิเคราะห์ระบบ แต่องค์กรเล็กๆ บางที่ นักเขียนโปรแกรมก็วิเคราะห์และออกแบบเอง
- นักปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ (Computer Operator) เป็นผู้ดูแลและสั่งการให้คอมพิวเตอร์ทำงานเป็นไปตามที่นักเขียนโปรแกรมต้องการ
- ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ (User) เป็นผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์ทั่วๆ ไป ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ อาจเป็นผู้ที่มีความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์เป็นอย่างดี หรืออาจเป็นผู้ที่มีความรู้ทางคอมพิวเตอร์น้อยก็ได้
เป็นต้น
ข้อมูล (Data)
เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งในระบบคอมพิวเตอร์เป็นสิ่งที่ต้องป้อนเข้าไปในคอมพิวเตอร์พร้อมกับโปรแกรมที่นักคอมพิวเตอร์เขียนขึ้นเพื่อผลิตผลลัพธ์ที่ต้องการออกมา ข้อมูลที่สามารถนำมาใช้กับคอมพิวเตอร์ได้ มี 5 ประเภท คือ
– ข้อมูลตัวเลข (Numeric Data)
– ข้อมูลตัวอักษร (Text Data)
– ข้อมูลเสียง (Audio Data)
– ข้อมูลภาพ (Images Data)
– ข้อมูลภาพเคลื่อนไหว (Video Data)
– ข้อมูลตัวเลข (Numeric Data)
– ข้อมูลตัวอักษร (Text Data)
– ข้อมูลเสียง (Audio Data)
– ข้อมูลภาพ (Images Data)
– ข้อมูลภาพเคลื่อนไหว (Video Data)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น