ศาสนสัมพันธ์

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ศาสนสัมพันธ์ คือศาสนสัมพันธ์ : เหตุผล ท่าทีและแนวปฏิบัติ
คุณพ่อสมบูรณ์ แสงประสิทธิ์

ศาสนสัมพันธ์ คือการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับผู้ที่นับถือศาสนาอื่นๆ โดยยึดจิตตารมณ์ความรัก ความเป็นพี่น้องกันเป็นหลัก เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจอันดีต่อกัน รับรู้คุณค่าที่มีในศาสนาของกันและกัน และร่วมมือกันสร้างสรรค์ภราดรภาพและสันติภาพในสังคม
ทำไมจึงต้องทำศาสนสัมพันธ์?
1. ทางการเมือง โลกปัจจุบันแคบลง ประเทศต่างๆ มีการติดต่อสัมพันธ์กันโดยจำเป็น ไม่มีประเทศใดอยู่โดดเดี่ยวได้ การติดต่อกันมีในระดับต่างๆ เช่น เศรษฐกิจ การค้าขาย สาธารณสุข การศึกษา การทหาร ฯลฯ รวมทั้งการศาสนาด้วย
2. มนุษยวิทยา มนุษย์มีหลายสิ่งแตกต่างกัน แต่ก็มีหลายสิ่งเหมือนกัน เราไม่สามารถบอกได้ว่าของใครดีกว่าของใคร เพราะดีเลวโดยทั่วไปเป็นอัตวิสัย ( subjective ) ขึ้นอยู่กับสภาพและความต้องการในแต่ละสถานที่และกาลเวลา เช่น เราไม่อาจตัดสินชี้ขาดลงไปว่าเครื่องบินดีกว่าเกวียน เพราะมันดีคนละอย่าง เครื่องบินอาจจะดีกว่าในที่ที่เจริญแล้ว แต่เกวียนอาจจะดีกว่าในชนบทที่ยังไม่เจริญ ไม่มีถนนหนทาง สิ่งที่ควรคำนึงในความแตกต่างและความเหมือนก็คือ จะอย่างไรก็ตาม มนุษย์ก็มีสิ่งที่ตรงกัน คือมุ่งแสวงหาสิ่งที่ดีสำหรับตนเอง เพียงแต่เครื่องมือที่ใช้อาจแตกต่างกันตามสภาพเท่านั้น
ศาสนาก็เช่นเดียวกัน จะว่าใครดีกว่าใครไม่ได้ เพราะต่างก็เป็นเครื่องมือที่มนุษย์ใช้เพื่อบรรลุจุดหมายเดียวกัน คือความดีสูงสุด
3. ทางด้านสังคม ทุกศาสนาต้องช่วยเสริมสร้างสังคมให้ดีขึ้น เพราะศาสนาคือวัฒนธรรมรูปแบบหนึ่งของสังคม ทั้งนี้มิได้หมายความว่าศาสนาเป็นเพียงปรากฏการณ์อย่างหนึ่งทางสังคม ซึ่งจะต้องขึ้นกับสังคมและอยู่ใต้อาณัติของสังคม แต่หมายความว่าศาสนาต้องพูดจาภาษามนุษย์ ต้องอยู่กับมนุษย์และอยู่เพื่อมนุษย์ ทุกศาสนาพึงร่วมมือกันเพื่อสร้างสรรค์สังคม โดยรวมพลังกัน แทนที่จะต่างคนต่างทำ หรือบางทีทำสิ่งที่ขัดแย้งกัน
4. ทางด้านศาสนา ธรรมชาติของคนเรามักจะมีปมเขื่อง คือถือว่าตัวดีกว่าคนอื่น นอกจากเข้าประเด็นที่กล่าวในข้อ 2 แล้ว ยังมีข้อคิดอีกว่าเราจะรู้ว่าศาสนาของเราดีกว่าของคนอื่นนั้น เราจำเป็นต้องรู้จักทั้งศาสนาของเราและศาสนาของคนอื่นอย่างดี จึงจะสามารถเปรียบเทียบกันได้ แต่ถ้าคนหนึ่งรู้ศาสนาของคนอื่นอย่างดีแล้ว จะเลิกคิดถึงปมเขื่องของตนทันที แต่จะเกิดความคิดใหม่ว่า ความดี ความจริง ไม่มีใครสามารถผูกขาดได้ แต่เป็นสมบัติของส่วนรวม ยิ่งกว่านั้น การรู้จักศาสนาอื่นอย่างดีนั้น ยังทำให้รู้จักศาสนาของตัวดีขึ้นด้วย สังคายนาวาติกันที่ 2 กล่าวไว้ว่า "พระศาสนจักรพิจารณาด้วยความเคารพอย่างจริงใจในวิธีปฏิบัติและการดำรงชีวิต ตลอดจนกฎและพระธรรมคำสอนเหล่านี้ของศาสนาอื่นๆ ซึ่งถึงแม้จะแตกต่างจากที่พระศาสนจักรสอนหลายประการ แต่บ่อยครั้ง ก็นำแสงสว่างแห่งความจริงมาส่องสว่างให้แก่มนุษย์ทุกคน"
5. ทางเทววิทยา ศาสนาเจริญและพัฒนา โดยอาศัยความสัมพันธ์ เหมือนมนุษย์แต่ละคนเจริญและพัฒนาโดยอาศัยความสัมพันธ์กับเพื่อนมนุษย์ด้วย กัน ศาสนาจะอยู่เฉยๆไม่ได้ ต้องเปี่ยมด้วยพลัง ต้องพัฒนาก้าวหน้าอยู่เสมอ สู่วุฒิภาวะโดยพบปะสัมพันธ์กับศาสนาอื่นๆ ที่แม้จะมีอะไรที่แตกต่างกัน แต่ก็มีอะไรที่จะแบ่งปันเพื่อความเจริญก้าวหน้าของกันและกัน ไม่มีศาสนาใดครบถ้วนสมบูรณ์ ไม่ต้องพัฒนาอีกแล้ว "ไม่มีใครเกิดเป็นคริสตัง แต่ต้องสร้าง (ความเป็นคริสตัง) ขึ้นมา" ( Joachim Wach)
ท่าทีที่ควรทบทวนพิจารณา
1. คิดว่าศาสนาแตกต่างกันจนไม่มีทางสัมพันธ์กันได้ ( Exclusivism ) เมื่อเชื่อว่าศาสนาของตัวจริง ศาสนาอื่นก็ต้องเท็จ ศาสนาของตัวดี ศาสนาอื่นก็ต้องไม่ดี ผลตามมาก็คือการไม่ผ่อนปรน การดูถูกเหยียดหยามศาสนาอื่น
คริสตศาสนามิได้เป็นเจ้าของความจริง ทั้งหมดแต่เพียงผู้เดียว ศาสนาอื่นก็มีความจริงด้วย สังคายนาวาติกันที่ 2 จึงประกาศว่า "พระศาสนจักรไม่ปัดทิ้งสิ่งที่จริงและศักดิ์สิทธิ์ในศาสนาอื่น"
2. ศาสนาเหมือนกันทุกศาสนา ไม่มีอะไรแตกต่างกัน ( Inclusivism ) เอกลักษณ์ของแต่ละศาสนาจะหายไป กลายเป็นศาสนารวม ใครจะนับถือศาสนาใด หรือนับถือกี่ศาสนาก็มีค่าเท่ากัน เป็นการเข้าใจคำว่า "ศาสนาไหนๆก็ดีทั้งนั้น" อย่างไม่ถูกต้อง คำว่า "ดีทั้งนั้น" ไม่ได้หมายความว่าต้องเหมือนกัน แต่อาจจะดีคนละอย่าง
ท่าทีเช่นนี้ทำให้ศาสนสัมพันธ์ไม่มีความจำเป็น เพราะสัมพันธ์กันอย่างแยกไม่ออกอยู่แล้ว จึงเป็นท่าทีที่ไม่ถูกต้องเช่นกัน
3. แต่ละศาสนาต่างเดินไปคนละทาง แต่ไปบรรจบกันที่จุดหมายปลายทาง ( Parallelism ) ยอมรับว่าศาสนาแตกต่างกัน คือเดินคนละทาง และเหมือนกัน คือมุ่งไปสู่จุดหมายปลายทางเดียวกัน แต่ไม่จำเป็นต้องสัมพันธ์กันในโลกนี้ จะไปสัมพันธ์กันในโลกหน้า
ท่าทีนี้เท่ากับสนับสนุนว่าแต่ละ ศาสนามีความสามารถที่จะอยู่ด้วยตัวเอง ไม่ต้องพึ่งศาสนาอื่น ศาสนสัมพันธ์จึงไม่มีความจำเป็น ซึ่งเป็นท่าทีที่ไม่ถูกต้องเช่นกัน
4. แต่ละศาสนามีทั้งสิ่งที่เหมือนและแตกต่างกัน แต่มีความกลมเกลียวกัน ( Harmony) ทำให้เกิดมิติใหม่ที่สวยงามและหลายหลากโดยอาศัยเอกลัษณ์ของแต่ละศาสนา เปรียบเสมือนเพชรงามหลายชนิดมาประดับเรือนแหวนหรือสร้อยเส้นเดียวกันช่วย เพิ่มคุณค่าและความงามยิ่งขึ้น
นี่คือท่าทีของศาสนสัมพันธ์ที่ถูก ต้องและควรสนับสนุน โดยนัยนี้เราจึงควรเข้าสู่กระบวนการศาสนสัมพันธ์โดยยึดจิตตารมณ์ต่อไปนี้ เป็นหลักประจำใจ คือ
ก. พึงมีความเคารพต่อกัน เพราะแต่ละศาสนาก็มีสิ่งที่จริง สิ่งที่ศักดิ์สิทธิ์มาจากพระ และนำไปสู่พระได้เช่นเดียวกัน
ข. พึงมีความสุภาพถ่อมตน ซึ่งเป็นลักษณะอย่างหนึ่งของความดี ยิ่งดีก็ยิ่งต้องสุภาพ ไม่ยกตนข่มท่าน
ค. พึงมีความฉลาดรอบคอบ เพราะเรื่องศาสนาเป็นเรื่องละเอียดอ่อน เป็นจุดที่ไวต่อความรู้สึกมาก จึงควรรู้จักกาละเทศะ รู้จักว่าควรหรือไม่ควร
ง. พึงมีความเข้าอกเข้าใจ อย่าด่วนตัดสินใจ เอาใจเขามาใส่ใจเรา
จ. พึงดำเนินชีวิตที่ซึมซาบด้วยศาสนา ทำให้เกิดศาสนาสัมพันธ์ขั้นลึกซึ้ง คือขั้นชีวิตซึ่งเป็นหัวใจของศาสนสัมพันธ์
การเข้าถึงศาสนาอื่นนั้นยากยิ่ง และแทบจะเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ การตัดสินศาสนาอื่นนั้นจะต้องเข้าถึงศาสนานั้นจริงๆ ซึ่งมิใช่เพียงเรียนรู้ทางด้านสติปัญญาเท่านั้น แต่หมายถึงต้องมีประสบการณ์ด้วยตนเองจึงจะเรียกว่าเข้าถึงศาสนานั้นจริงๆ ตัวอย่างเช่น คนที่จะเข้าถึงคริสตศาสนาจริงๆ ก็ต้องเข้ามาปฏิบัติจริงๆด้วย จึงจะเข้าใจว่าภาวนาแบบคริสต์นั้นคืออะไร ศีลมหาสนิทนั้นคืออะไร พระบัญญัตินั้นคืออะไร สำหรับศาสนาอื่นก็เช่นเดียวกัน ซึ่งในทางปฏิบัติ เรามิอาจทำได้เช่นนั้นจริงๆ ศาสนามิใช่เป็นเรื่องของตำรา แต่เป็นเรื่องของประสบการณ์ เราแต่ละคนจึงมีความจำกัดเอามากๆ ทางที่ดีก็คือ อย่าตัดสินใครเลยจะดีกว่า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศ

                การขยายตัวของเทคโนโลยีสารสนเทศ     การขยายตัวของเทคโนโลยีสา รสนเทศ        เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเทคโนโลยีที่มีการ...