ประวัติพุทธสาวก พุทธสาวก

ประวัติพุทธสาวก พุทธสาวิกาและชาวพุทธตัวอย่าง

ประวัติพุทธสาวก ในบทนี้ ได้ศึกษา เรื่อง พระอานนท์ พระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ พระราหุล และพระเขมาเถรี เพื่อวัตถุประสงค์นำแนววิถีชีวิตการประพฤติปฏิบัติของท่านนำไปใช้ในชีวิตประจำวันของศาสนิกชน
ระอานนท์



ประวัติ
พระอานนท์ เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าอมิโตทนะ พระอนุชาของพระเจ้าสุทโธทนะ พระมารดาพระนามว่า กีสาโคตมี ท่านจึงเป็นพระอนุชาของพระพุทธเจ้า ท่านออกบวชพร้อมกับ เจ้าชายภัททิยะ เจ้าชายภคุ เจ้าชายกิมพิละ เจ้าชายอนุรุทธะ เจ้าชายเทวทัต กับนายภูษามาลา ชื่อว่า อุบาลี
หลังจากบวชแล้ว ท่านได้ฟังโอวาทของพระปุณณมันตานีบุตร ได้บรรลุโสดาปัตติผล และได้มารับหน้าที่ พุทธอุปัฏฐาก ปรนนิบัติพระพุทธเจ้า จนกระทั่งหลังพระพุทธเจ้าปรินิพพานได้ 3 เดือน จึงได้บรรลุพระอรหันตผล และท่านบรรลุพระอรหันตผลโดยไม่อยู่ในอริยบถ 4 คือ ยืน เดิน นั่ง นอน นั่นคือ ท่านบรรลุพระอรหันตผลภายหลังจากที่ได้ปฏิบัติธรรมทั้งคืนขณะที่จะเอนกายลงนอนบนเตียง พอยกเท้าพ้นจากพื้นแต่ศีรษะยังไม่ทันถึงหมอน จิตของท่านก็หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย คลายความยึดมั่นลงได้
ในขณะที่พระพุทธเจ้าหลังจากตรัสรู้แล้ว ไม่มีพุทธอุปัฏฐาก พระสงฆ์สาวกต่างก็ผลัดกันทำหน้าที่อยู่รับใช้พระพุทธเจ้า ต่อมาพระสงฆ์สาวกเห็นสมควรว่าจักต้องมีภิกษุรูปใดรูปหนึ่งมาทำหน้าที่นี้ และพระสงฆ์ทั้งหลายก็ขอร้องให้ท่านรับหน้าที่ พระอานนท์จึงขอพร (เงื่อนไข) 8 ประการต่อพระพุทธเจ้าก่อนรับหน้าที่พุทธอุปัฏฐาก ดังนี้
1. พระพุทธองค์ต้องไม่ประทานจีวรอย่างดีแก่ท่าน
2. ต้องไม่ประทานบิณฑบาตอย่างดีแก่ท่าน
3. ต้องไม่ให้ท่านอยู่ในพระคันธกุฎีเดียวกับพระพุทธองค์
4. ต้องไม่นำท่านไปในที่นิมนต์ด้วย
5. ต้องเสด็จไปในที่นิมนต์ที่ท่านรับไว้
6. ต้องให้คนที่มาแต่ไกลเพื่อเฝ้าได้เฝ้าทันที
7. ต้องให้ทูลถามข้อสงสัยได้ทุกเมื่อ
8. ถ้าไม่มีโอกาสไปฟังธรรมที่ทรงแสดง ขอให้ทรงแสดงซ้ำให้ท่านฟังด้วย
สำหรับเหตุผลที่ท่านขอพร 8 ประการนั้น ได้แก่ พรที่ 1-4 เพื่อแสดงให้เห็นว่า ที่ท่านรับตำแหน่งพุทธอุปัฏฐาก มิใช่เพื่อลาภสักการะ และพรที่ 5 –7 เพื่อแสดงว่าท่านเป็นผู้มีความปรารถนาจะปฏิบัติหน้าที่พุทธอุปัฏฐากอย่างอุทิศและให้เกิดประสิทธิภาพเป็นที่ยอมรับของพระพุทธเจ้าและพุทธบริษัท พระอานนท์ได้ทำหน้าที่พุทธอุปัฏฐากได้เป็นอย่างดียิ่ง จนได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่าเป็นเอตทัคคะ (ความเป็นเลิศกว่าผู้อื่น) 5 ประการ ได้แก่
1. เป็นพหูสูต (ทรงจำพุทธวจนะได้มากที่สุด)
2. เป็นผู้มีสติ
3. เป็นผู้มีคติ (แนวในการจำพุทธวจนะ)
4. เป็นผู้มีธิติ (ความเพียร)
5. เป็นพุทธอุปัฏฐากผู้เลิศ
ในช่วงสุดท้ายแห่งพระชนมชีพของพระพุทธเจ้า พระอานนท์ได้ตามเสด็จจากเมืองราชคฤห์ไปยังเมืองกุสินาราได้รับถ่ายทอดพระพุทธโอวาทมากมาย ที่ยังมิเคยตรัสที่ไหนมาก่อน และหลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว ท่านได้ถ่ายทอดให้ที่ประชุมสงฆ์อันประกอบด้วยพระอรหันต์ทรงอภิญญา 500 รูปฟังและในการสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งแรกนี้ ท่านได้ทำหน้าที่วิสัชนาพระธรรม
เมื่อท่านอายุได้ 120 พรรษา ถึงเวลานิพพาน พระญาติทั้งสองฝั่งน้ำโรหิณีต่างก็ปรารถนาให้ท่านนิพพาน ณ บ้านเมืองของตนพระอานนท์จึงเข้าเตโชสมาบัติเหาะขึ้นในอากาศ อธิษฐานให้ร่างของท่านแตกออกเป็นสองส่วน ส่วนหนึ่งตกลง ณ ฝั่งเมืองกบิลพัสดุ์อีกส่วนหนึ่งตกลง ณ ฝั่งเมืองเทวทหะ เพื่อให้พระญาติทั้งสองฝ่ายนำอัฐิธาตุของท่านไปบรรจุไว้บูชา
คุณธรรมที่ควรถือเป็นแบบอย่าง
1. เป็นผู้ทรงจำธรรมไว้ได้มาก พระอานนท์ได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่าเป็นพหูสูต เพราะท่านทูลขอพรจากพระพุทธเจ้าก่อน
เข้ารับตำแหน่งพุทธอุปัฏฐาก มีข้อหนึ่งความว่า ถ้าพระองค์ทรงแสดงธรรมเรื่องในในที่ลับข้าพระองค์ ขอให้พระองค์ได้โปรดแสดงธรรมเรื่องนั้นแก่ข้าพระองค์อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเป็นผู้เอาใจใส่ขวนขวายในการศึกษาและทรงจำเป็นอย่างดียิ่ง
2. เป็นผู้ช่วยระงับความแตกร้าวในพุทธจักร คราวที่พระชาวเมืองโกสัมพีเกิดทะเลาะวิวาทกันเป็นฝ่าย พระพุทธเจ้าทรงตักเตือนก็
ไม่สามารถคลายทิฏฐิมานะพระเหล่านั้นลงได้ พระองค์จึงเสด็จไปจำพรรษาในป่าปาลิเลยยกะ ต่อมาพระเหล่านั้นเกิดสำนึกผิดรู้สึกละอายใจ จึงเข้าไปหาพระอานนท์ พร้อมขอร้องให้ท่านพาไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าเพื่อทูลขอขมา พระอานน์ได้ทำตามจนสามารถระงับความแตกร้าวให้กลับคืนสภาวะปกติได้
3. เป็นผู้รับภาระในพระพุทธศาสนา ในคราวปฐมสังคายนา ท่านได้ทำหน้าที่วิสัชนาพระธรรม โดยรวบรวมพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้มาจัดเป็นหมวดหมู่ จนปรากฏเป็น พระสุตตันตปิฎก และ พระอภิธรรมปิฎก ให้เราได้ศึกษาจนกระทั่งทุกวันนี้
4. เป็นผู้สืบต่อพระศาสนา ท่านเป็นผู้มีศิษย์มาก ต่อมาศิษย์ของท่านได้มีบทบาทสำคัญในการทำสังคายนาครั้งที่ 2 คือ พระสัพ

พกามี พระยสกากัณฑบุตร และพระเรวตะ เป็นต้น แสดงถึงความเป็นผู้มีอัธยาศัยไมตรีที่เพียบพร้อมดีงาม ทำให้มีผู้เคารพเลื่อมใสและแสดงตนเป็นศิษย์จำนวนมาก
พระสารีบุตร


พระสารีบุตร เดิมชื่อ อุปติสสะ เป็นบุตรของวังคันตพราหมณ์ มารดาชื่อสารี บิดาเป็นนายบ้าน อุปติสสคาม ใกล้เมืองราชคฤห์ บิดามารดามีฐานะร่ำรวย เหตุที่ท่านได้ชื่อว่า สารีบุตร เนื่องจากเมื่อท่านบวชแล้วเพื่อนพระภิกษุด้วยกันมักเรียกท่านว่า สารีบุตร แปลว่า บุตรนางสารีตามชื่อมารดาของท่านอุปติสสะมีสหายคนหนึ่งชื่อว่า โกลิตะ เป็นบุตรของนายบ้านโกลิตคามซึ่งอยู่ไม่ไกลกันนัก ทั้งสองเป็นเพื่อนสนิทกัน เที่ยวด้วยกันและศึกษาศิลปวิทยาร่วมกัน วันหนึ่งทั้งสองได้ไปเที่ยวชมมหรสพในเมืองเห็นความไร้สาระของมหารสพเกิดความเบื่อหน่ายในการเสพสุขสำราญจึงปรึกษากันแล้วชวนกันพร้อมกับบริวารบวชเป็นปริพพาชกอยู่ในสำนักสัญชัย เวลัฏฐบุตร เพื่อศึกษาธรรมแต่ยังมิได้บรรลุธรรมพิเศษเป็นที่สุดที่พอใจ จึงนัดหมายกันว่าผู้ใดได้บรรลุธรรมพิเศษก่อน ผู้นั้นจงบอกแก่ผู้อื่น ขณะนั้นเมื่อพระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่พระเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ พระอัสสชิซึ่งเป็นองค์หนึ่งในจำนวนปัญจวัคคีย์ได้เดินทางมาเพื่อเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าและกำลังบิณฑบาตอยู่ อุปติสสะได้พบท่านเกิดความเลื่อมใสศรัทธา จึงติดตามไปเมื่อพระอัสสชิฉันอาหารเสร็จแล้ว จึงได้เข้าไปถามถึงข้อปฏิบัติ พระอัสสชิได้แสดงธรรมให้ฟังสั้น ๆ ว่า สิ่งทั้งหลายย่อมเกิดจากเหตุ จะดับไปก็เพราะเหตุดับอุปติสสะได้ฟังเกิดดวงตาเห็นธรรม คือ เข้าใจแจ่มแจ้งสิ้นความสงสัยบรรลุโสดาบัน เมื่อทราบว่าพระพุทธเจ้าประทับอยู่พระเวฬุวันจึงนำธรรมที่ตนได้ฟังไปเล่าถ่ายทอดให้โกลิตะผู้เป็นสหายฟัง โกลิตะเมื่อฟังแล้วก็ได้ดวงตาเห็นธรรมเช่นเดียวกัน จึงไปลาอาจารย์สัญชัย พร้อมทั้งบริวารพากันไปเฝ้าพระพุทธเจ้า และได้ขอบวชเป็นพระสาวกพร้อมทั้งบริวาร พระพุทธเจ้าประทานบวชให้ทั้งหมด เมื่อบวชแล้ว พระพุทธเจ้าตรัสเทศนาอบรม บริวารทั้งหมดได้สำเร็จอรหันต์ก่อน ส่วนอุปติสสะ ได้บำเพ็ญธรรมต่อมาอีก 15 วันจึงได้สำเร็จอรหันต์พระสารีบุตรได้รับยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่า เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุอื่นในทางปัญญา เป็นผู้มีคุณธรรมดีเด่นด้านปัญญา เป็นอัครสาวกเบื้องขวาของพระพุทธเจ้า เป็นกำลังสำคัญในการประกาศพระศาสนาพระสารีบุตรนิพพานวันเพ็ญกลางเดือน 12 นิพพานก่อนพระโมคคัลลานะ 15 วัน และก่อนพระพุทธเจ้าประมาณ 7 เดือน ก่อนนิพพานท่านได้เทศนากล่อมเกลาจิตใจของบิดามารดาจของท่านให้กลับใจมานับถือพระพุทธศาสนาจนเป็นผลสำเร็จ
คุณธรรมที่เป็นแบบอย่าง
1. เป็นผู้มีปัญญาเลิศ สามารถเข้าใจพระธรรมคำสอนของพรพุทธเจ้าได้อย่างลึกซึ้งและอธิบายให้คนอื่นฟังได้อย่างดียิ่ง แม้เรื่องยากเพียงไรก็ตาม ก็สามารถอธิบายให้เข้าใจได้ง่าย เมื่อมีพระสงฆ์สาวกจะทูลลาไปต่างเมือง พระพุทธเจ้ามักตรัสให้ไปลาและรับฟังโอวาทจากพระสารีบุตรด้วย
2. เป็นผู้มีขันติเป็นเลิศ มีความสงบเสงี่ยมไม่คิดร้ายใคร ไม่โกรธหรือคิดตอบโต้ใคร ๆ เช่น ท่านถูกพราหมณ์คนหนึ่งซึ่งทราบว่า ท่านไม่โกรธและมีความอดทน ย่องไปทุบข้างหลังจนท่านเซไปข้างหน้า ท่านก็ไม่เหลียวมอง ทำให้พราหมณ์เกิดความสำนึกผิดและขอขมาท่าน
3. เป็นผู้มีความกตัญญูกตเวทีเป็นเลิศ พระสารีบุตรเป็นผู้มีความกตัญญูกตเวที ท่านนับถือพระอัสสชิเป็นพระอาจารย์องค์แรกของท่าน เมื่อรู้ว่าพระอัสสชิอยู่ในทิศใด เวลาจะนอนท่านจะหันศีรษะไปทางทิศนั้น นอกจากนี้ ท่านยังเป็นผู้ยอดกตัญญูรู้คุณแม้เพียงเพราะพรามหณ์แก่ชื่อว่าราธะซึ่งเคยตักข้าวใส่บาตรท่านทัพพีท่านก็จำได้และเมื่อราธพราหมณ์ประสงค์จะบวชแต่ไม่มีใครรับรองให้บวช ท่านก็กราบทูลพระพุทธเจ้าขอรับหน้าที่บวชให้
4.เป็นผู้มีความอ่อนน้อมถ่อมตน พระสารีบุตร เป็นผู้มีความอ่อนน้อมถ่อมตนมาก ถึงแม้จะได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่ามีปัญญาเทียบเท่าพระองค์ ท่านก็ไม่เคยลืมตนท่านอ่อนโยนต่อทุกคน ด้วยคุณสมบัติดังกล่าวท่านจึงเป็นที่รักของเพื่อนพระสาวกด้วยกันเป็นอย่างมาก
พระมหาโมคคัลลานะ


พระมหาโมคคัลลานะ มีนามเดิมว่า โกลิตะ เป็นบุตรพราหมณ์หัวหน้าหมู่บ้านโกลิดคาม ซึ่งอยู่ใกล็กับหมู่บ้านอุปติสสคาม ท่านมีเพื่อนกินเพื่อนเที่ยวด้วยกัน ชื่ออุปติสสะ ชีวิตในวัยหนุ่มของท่าน ก็เช่นเดียวกับชีวิตพระสารีบุตร คือได้เป็นศิษย์ของอาจารย์สัญชัยเวลัฏฐบุตร เมื่อเบื่อหน่ายลัทธิคำสอนของอาจารย์สัญชัย ก็พากันแสวงหาแนวทางใหม่ อุปติสสะได้พบพระอัสสชิและฟังธรรมจากท่าน จนบรรลุโสดาปัตติผลจึงนำมาบอกแก่โกลิตะ โกลิตะได้ฟังก็บรรลุเป็นพระโสดาบันเช่นกัน ทั้งสองจึงพากันไปบวชเป็นสาวกของพระพุทธเจ้า หลังจากบวชแล้ว โกลิตะได้นามเรียกขานในหมู่บรรพชิตว่า โมคคัลลานะ ท่านได้บำเพ็ญเพียรทางจิต ณ หมู่บ้านกัลลวาลมุตตคาม
- หลังจากอุปสมบทได้ 7 วัน ผลพวงจากการได้บรรลุพระอรหตผลของท่าน ก็คือ ท่านได้อภิญญา (ความสามารถพิเศษ) คือ มีอิทธิฤทธิ์ด้วย จึงได้รับยกย่องจากพระพุทธองค์ว่าเป็นผู้เลิศกว่าผู้อื่นในทางมีฤทธิ์มาก และได้รับแต่งตั้งเป็น อัครสาวกเบื้องซ้ายคู่กับพระสารีบุตรซึ่งเป็นอัครสาวกเบื้องขวา
คุณธรรมที่ควรถือเป็นแบบอย่าง
1.เป็นผู้มีความอดทนยิ่ง เมื่อบวชแล้ว พระโมคคัลลานะไปปฏิบัติธรรมอยู่ ณ กัลลวาลมุตตคาม พยายามเพื่อบรรลุผลที่ต้องการแม้ถูกความง่วงครอบงำ ท่านก็พยายามนั่งสมาธิเดินจงกรมไม่ยอมเลิก แสดงให้เห็นถึงการมีความอดทน พากเพียรพยายามสูงยิ่ง แต่ความเพียรเท่านั้นยังไม่พอ ต้องประกอบด้วยความรู้ คือ เพียรอย่างฉลาด พระพุทธเจ้าจึงประทานวิธีการแก้ง่วงให้ท่าน เมื่อปฏิบัติตามแล้ว ท่านก็เอาชนะความง่วงได้ แล้วบำเพ็ญเพียรต่อไปจนได้บรรลุพระอรหัตผลเป็นพระอรหันต์ในที่สุด
2. เป็นผู้ถ่อมตนยิ่ง พระโมคคัลลานะเป็นพระเถระมีอิทธิฤทธิ์ บางครั้งพระพุทธเจ้ายังทรงมีพระบัญชาให้พระโมคคัลลานะใช้อิทธิฤทธิ์ปราบผู้ควรปราบ เพื่อให้เขาหายพยศแล้วนำเข้าหาพระธรรม แม้จะมีฤทธิ์มาถึงอย่างนี้ ท่านกลับเป็นผู้ถ่อมตนยิ่ง ดังวันหนึ่งพระสารีบุตรเห็นท่านมีใบหน้าผ่องใสจึงซักถาม พระโมคคัลลานะตอบว่าท่านได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้า ครั้นถามว่าพระพุทธเจ้าประทับอยู่ไกลมาก ท่านโมคคัลลานะเหาะไปฟังธรรมหรือ พระโมคคัลลานะตอบว่ามิได้เหาะไปฟัง แต่ฟังด้วยทิพยโสต เมื่อพระสารีบุตรชมเชยว่า พระโมคคัลลานะนี้ช่างมีความสามารถเหลือเกิน พระโมคคัลลานะกลับไม่หลงในคำชมนั้น แต่พูดว่า ความสามารถของข้าพเจ้า เมื่อเปรียบเทียบกับท่านพระสารีบุตรแล้วเพียงเล็กน้อย ดุจก้อนเกลือเล็กๆ วางไว้ใกล้หม้อน้ำใบใหญ่ฉะนั้นความอ่อนน้อมถ่อมตนเช่นนี้ เป็นคุณธรรมที่เป็นแบบอย่างที่ดี ที่บุคคลควรดำเนินตามเป็นอย่างยิ่ง
3.มีความใฝ่รู้อย่างยิ่ง คุณธรรมข้อนี้ปรากฏตั้งแต่สมัยยังเป็นฆราวาส เมื่อไปดูมหรสพบนภูเขากับอุปติสสะ (พระสารีบุตร) เกิดความเบื่อหน่าย ใคร่จะแสวงหาแนวทางที่ดีกว่า จึงชวนอุปติสสะไปศึกษาอยู่กับอาจารย์สัญชัยเวลัฏฐบุตร ไมนานท่านก็เรียนจนจบหมดภูมิของอาจารย์ เพราะความใฝ่รู้ของท่าน จึงอยากศึกษาหาความรู้ยิ่งๆ ขึ้นไป และเที่ยวแสวงหาครูอาจารย์อื่นต่อไปจนกระทั่งอุปติสสะได้ฟังธรรมจากพระอัสสชิ มาเล่าให้ฟัง ท่านก็ตั้งใจฟัง จนได้ดวงตาเห็นธรรม ทั้งหมดนี้แสดงถึงความใฝ่รู้ของท่าน จึงทำให้ท่านได้รับความรู้ยิ่งๆ ขึ้นไป จนสำเร็จพระอรหัตผลในที่สุด
พระเจ้าสุทโธทนะ


พระเจ้าสุทโธทนะ มีพระอัครมเหสีนามว่าพระนางสิริมหามายา เจ้าหญิงโกลิยวงศ์จากกรุงเทวทหะ และมีพระราชโอรสพระองค์หนึ่งคือ เจ้าชายสิทธัตถะซึ่งต่อมาตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และหลังจากพระสิทธัตถราชกุมารประสูติได้ 7 วัน พระนางสิริมหามายาก็สวรรคต พระสุทโธทนะจึงอภิเษกสมรสใหม่กับพระนางมหาปชาบดีหรือโคตมี ซึ่งเป็นพระกนิษฐาร่วมชนนีกับพระนางสิริมหามายา และมีพระโอรสคือ เจ้าชายนันทะและพระธิดาคือ เจ้าหญิงรูปนันทา
พระเจ้าสุทโธทนะเป็นกษัตริย์ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของคุณธรรมและยึดมั่นในราชประเพณีอย่างเคร่งครัดในการปกครองบ้านเมือง[ต้องการอ้างอิง] ประชาชนอยู่เย็นเป็นสุขตลอดรัชสมัยของพระองค์[ต้องการอ้างอิง] ทรงมุ่งหวังที่จะให้พระโอรสโดยเฉพาะสิทธัตถะได้รับเลือกจากสภาศากยะให้เป็นราชาสืบต่อจากตน แต่เจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกผนวช และพอทราบว่า เจ้าชายสิทธัตถะได้บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว จึงเชิญพระศาสดากลับมาที่กรุงกบิลพัสดุ์
เมื่อพระบรมศาสดาที่เสด็จมายังกรุงกบิลพัสดุ์คราวนี้ พระเจ้าสุทโธทนะได้สดับรับฟังพระธรรมเทศนา ทรงเกิดความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา บรรลุพระโสดาบันเป็นอุบาสกพุทธบริษัทและบรรลุพระอรหัตผลนิพพานในพรรษาที่ 5 ของพระโคตมพุทธเจ้า
พระราหุล


พระราหุล หรือพระนามเดิม เจ้าชายราหุล เป็นพระโอรสในเจ้าชายสิทธัตถะ (พระโคตมพุทธเจ้า) กับพระนางยโสธรา ประสูติในวันที่พระบิดาออกผนวช ในพระไตรปิฎกว่า เจ้าชายสิทธัตถะเมื่อได้ทราบว่าพระราชโอรสประสูติ ทรงเปล่งอุทานออกมาว่า "ราหุ ชาโต พันธนัง ชาตัง" แปลว่า "'ราหุ (บ่วง) เกิดขึ้นแล้ว พันธนาการเกิดขึ้นแล้ว" หมายความว่า พระกุมารที่ประสูติจะเป็นบ่วงร้อยรึงพระองค์ไว้กับภริยาและชีวิตฆราวาส ซึ่งพระเจ้าสุทโธทนะทรงนึกว่าสิทธัตถราชกุมารทรงตั้งพระนามโอรสอย่างนั้น จึงทรงขนานนามพระภาคิไนย (พระเจ้าหลาน) ว่า "ราหุล" อันแปลว่า "บ่วง"
เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าและเสด็จไปเผยแผ่พุทธศาสนา ณ แคว้นมคธ ก็ทรงนิวัติกลับกรุงกบิลพัสดุ์ เพื่อโปรดพระบิดาและพระญาติประยูร และมีเหล่าสาวกติดตามเสด็จมาด้วย วันหนึ่งพระนางยโสธราทรงได้พระราหุล และมีรับสั่งให้พระกุมารราหุลไปทูลขอพระราชสมบัติ พระพุทธเจ้าจึงทรงบรรพชาพระราหุลเป็นสามเณรและให้เสด็จติดตามพระองค์ไปด้วย พระกุมารราหุลจึงเป็นสามเณรรูปแรกในพุทธศาสนา
สามเณรราหุลบรรพชาเมื่ออายุ 7 ปี พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมให้ฟังมากมายหลายเรื่อง เมื่ออายุครบ 20 ปี ก็ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ท่านได้ตามเสด็จพระพุทธเจ้าไปยังป่าอันธวัน แขวงเมืองไพศาลี แคว้นวัชชี หลังจากได้ฟัง "จูฬราหโลวาทสูตร" จากพระพุทธองค์ ก็สำเร็จบรรลุเป็นพระอรหันต์ พระราหุลเถระ ได้รับการยกย่องจากพระพุทธองค์ว่า "เอตทัคคะ"(ผู้เลิศกว่าคนอื่นในด้านใคร่การศึกษา) คือ ชอบการศึกษาหรือขยันหมั่นในการเล่าเรียน
คุณธรรมของท่านที่ควรยึดถือเอาเป็นแบบอย่าง
1.มีความอดทนเป็นเยี่ยม คือบรรพชาตั้งแต่อายุ 7 ปี ต้องอดอาหารในเวลาวิกาลตั้งแต่เที่ยงจนถึงรุ่งเช้าและตามปกติพระภิกษุสามเณรในสมัยพุทธกาล
2. เป็นผู้ว่าง่ายถ่อมตน ไม่ถือตัว
3. เป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษาอย่างยิ่ง
4. เป็นผู้ที่มีความขยันหมั่นเพียร
5. มีความกตัญญูกตเวทีอย่างยิ่ง
นางวิสาขา


นางวิสาขา เกิดในตระกูลเศรษฐี ในเมืองภัททิยะ แคว้นอังคะ เป็นบุตรของ ธนญชัยเศรษฐี มารดาชื่อว่าสุมนาเทวี มีปู่ชื่อเมณฑกเศรษฐี นางวิสาขามีอีกชื่อหนึ่งว่า นางวิสาขามิคารมารดา เป็นภรรยาของ ปุณณวัฒนกุมาร บุตรของมิคารมหาเศรษฐีในเมืองสาวัตถี ท่านเป็นผู้มีศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า เป็นผู้ถวายบุพพาราม และโลหะปราสาทหลังแรกแก่พระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ยกย่องนางวิสาขาว่าเป็นผู้เลิศกว่าอุบาสิกาทั้งหลายในฝ่าย
คุณธรรมที่ควรถือเป็นแบบอย่าง
1. เป็นผู้มีความศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า
2. เป็นผู้มีความเชื่อฟังบิดา มารดา และมีความซื่อสัตย์มั่นคงต่อสามี
3. เป็นผู้มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด ใช้หลักธรรมแก้ปัญหาในครอบครัวได้
4. เป็นผู้ที่สามารถเปลี่ยนความเชื่อถือของบิดาสามี ให้หันมานับถือพระพุทธศาสนา
อนาถบิณฑิกเศรษฐี


อนาถบิณฑิกเศรษฐี หรือ สุทัตตอนาถปิณฑิกคฤหบดี (อ่านว่า: อะ-นา-ถะ-บิน-ทิ-กะ) เป็นชาวเมืองสาวัตถีในสมัยพุทธกาล มีชีวิตร่วมสมัยกับพระพุทธเจ้า เดิมท่านมีนามว่าสุทัตตะเศรษฐี เกิดในตระกูลของสุมนะเศรษฐีผู้เป็นบิดา ท่านเป็นเศรษฐีที่ใจบุญ ชอบช่วยเหลือคนตกยาก ทำให้ท่านถูกเรียกจากชาวเมืองสาวัตถีว่า อนาถบิณฑิกเศรษฐี แปลว่า เศรษฐีผู้เป็นที่พึ่งของคนยาก (แปลตามศัพท์ว่า เศรษฐีผู้มีก้อนข้าวให้กับคนยากจน) อนาถบิณฑิกเศรษฐี ได้ไปค้าขายและได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าที่เมืองราชคฤห์จนบรรลุเป็นพระโสดาบัน ท่านจึงมีศรัทธาสร้างวัดเชตวันมหาวิหารถวายแก่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ด้วยเงินจำนวนมาก ท่านได้เป็นผู้ให้ความอุปถัมภ์บำรุงพระพุทธเจ้าและพระสงฆ์อย่างดีมาก เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้พระพุทธเจ้าเสด็จประทับจำพรรษาที่วัดพระเชตวันที่ท่านสร้างมากกว่าที่ประทับใด ๆ ถึง 19 พรรษา
คุณธรรมของที่อนาถบิณฑิกเศรษฐี ควรถือเป็นแบบอย่าง มีดังนี้
1.เป็นผู้ที่มั่นคงในการทำบุญ ท่านเป็นคนใจบุญสุนทาน ชอบทำบุญกุศลโดยเฉพาะให้ทานและฟังธรรมเป็นประจำ แม้บางครั้งชีวิตจะตกอับเพราะสูญเสียทรัพย์ไปจำนวนมากก็ตาม ก็ยังไม่ยอมเลิกหรือลดการให้ทานแต่อย่างใด
2.เป็นทายกตัวอย่างท่านตระหนักดีว่าหน้าที่ของชายพุทธคฤหัสถ์ คือ การอุปถัมภ์บำรุงพระสงฆ์ จึงตระเตรียมจัดอาหารเพื่อพระสงฆ์ไว้ที่บ้านเสมอ ท่านจะไปวัดวันละสองครั้งคือเช้าและเย็น นอกจากนี้ท่านอนาถบิณฑิกะยังชักชวนชาวบ้านให้ทำบุญกุศลด้วย บ้านใดทำบุญให้ทาน ท่านก็จะไปร่วมอนุโมทนา หรือให้คำแนะนำให้เจ้าภาพจัดการให้ถูกต้องอีกด้วย นับว่าเป็นทายกที่เป็นแบบอย่างที่ดีคนหนึ่ง
3.เป็นพ่อที่ดีของลูก ท่านรักลูกทุกคนเสมอกัน เมื่อลูกสาวทั้งสามคนถึงวัยที่มีเหย้ามีเรือน ท่านก็จัดการแต่งงานให้กับคู่ครองที่เหมาะสม และคอยพร่ำสอนให้ลูกทุกคนเป็นคนดีศีลธรรมและให้ทานเหมือนท่าน โดยให้มอบหมายให้ลูกสาวรับหน้าที่จัดการเรื่องถวายทานแด่พระสงฆ์เป็นประจำ ดังกล่าวข้างต้น
4.เป็นผู้มีความตั้งใจแน่วแน่ เมื่อท่านยากจนลงเพราะดำเนินธุรกิจผิดพลาด ท่านก็ไม่เลิกทำบุญให้ทาน เคยกระทำอย่างใดก็กระทำอย่างนั้น แม้ว่าภัตตาหารที่ถวายพระในช่วงตกอับนี้จะไม่ประณีตหรือดีเหมือนเดิม แต่ท่านอนาถบิณฑิกะมีความตั้งใจแน่วแน่ที่จะทำบุญ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศ

                การขยายตัวของเทคโนโลยีสารสนเทศ     การขยายตัวของเทคโนโลยีสา รสนเทศ        เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเทคโนโลยีที่มีการ...